ตะลึงพบ ‘ฉลามผี’ สายพันธุ์ใหม่ ตาสีรุ้งสะท้อนแสง แฝงตัวในทะเลลึกอันดามัน

ตื่นตะลึง พบ ‘ฉลามผี’ สายพันธุ์ใหม่ ตาสีรุ้งสะท้อนแสง แฝงตัวในทะเลลึกอันดามัน มีต้นกำเนิดมากกว่า 300-400 ล้านปี
เว็บไซต์ต่างประเทศ รายงานว่า นักวิทยาศาตร์ได้ค้นพบที่น่าตื่นตาตตื่นใจ ฉลามผีสายพันธุ์ใหม่ หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า “ปลาไคมีรา” แฝงอยู่ในใต้ส่วนลึกของทะเลอันดามัน บริเวณนอกชายฝั่งประเทศไทย มีเชื้อสายต้นกำเนิดมากกว่า 300-400 ล้านปีก่อน
ตามรายงานที่ปรากฏบนวารสาร เผยว่า ฉลามผีสายพันธุ์ที่เพิ่งถูกค้นพบนี้เป็นปลากระดูกอ่อน มีหัวขนาดใหญ่ ดวงตาขนาดยักษ์สีเหลือบรุ้ง และครีบลักษณะคล้ายขนนกได้รับการขนานนามว่า “ไคมีรา สุภาเพ” เพื่อเป็นเกียรติแก่อดีตคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านอนุกรมวิธานปลา

ภาพประกอบ

ส่วนชื่อไคมีรามาจาก สัตว์ในเทวตำนานกรีกที่เกิดจากการรวมกันของสัตว์ร้าย 3 ชนิด คือ มีหัวเป็นสิงโต ลำตัวเป็นแพะ และข้างท้ายเป็นงูหรือมังกร ทำให้คำว่าไคมีรามักถูกนำมาใช้เรียกสัตว์ที่มีลักษณะประหลาดหรือน่ากลัว
อย่างไรก็ตาม ตามรายงานระบุเพิ่มเติมว่า ฉลามผีสายพันธุ์ใหม่นี้ถูกค้นพบระหว่างการสำรวจเมื่อปี 2018 เป็นตัวอย่างฉลามผีตัวผู้ จับได้ในทะเลอันดามันที่ระดับความลึก 772-775 เมตร โดยปกติมักอาศัยอยู่ตามไหล่ทวีปและสันเขามหาสมุทรใต้ทะเลลึก

ภาพประกอบ
โดยมักแฝงตัวอยู่ในน่านน้ำที่มืดมิด ล่าสัตว์ที่อาศัยอยู่ในก้นทะเล เช่น สัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง หอย และหนอน เป็นอาหาร นอกจากนี้ฉลามผีในโลกนี้มีเพียง 53 สายพันธุ์ สายพันธุ์ล่าสุดนี้คิดเป็นสายพันธุ์ที่ 54 โดยบางสายพันธุ์สามารถโตได้ยาวถึง 2 เมตร

ขณะเดียวกัน ผู้อำนวยการโครงการของศูนย์วิจัยฉลามแปซิฟิก ตั้งข้อสังเกตว่า ครีบที่เหมือนขนนกของสัตว์ชนิดนี้อาจเกี่ยวข้องกับความสามารถในการเคลื่อนตัวบนพื้นหินที่มีความโล่งสูง
มองเห็นได้ในน้ำทะเลลึกที่มืดสนิท
 ผิวสีน้ำตาลเข้มไม่มีเส้นหรือลวดลายที่เห็นได้ชัดเจน และมีครีบหลังยาวถึงส่วนหัว
ทั้งนี้ ตามวิวัฒนาการแล้ว ฉลามผีเหล่านี้เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ปลาที่เก่าแก่ที่สุด โดยมีเชื้อสายย้อนกลับไป 300-400 ล้านปีก่อนการค้นพบสัตว์สายพันธุ์ใหม่ๆ

ภาพประกอบ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *